ระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) ทางด้านอุตสาหกรรม เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนา วิธีการผลิตที่ช่วยลดต้นทุน สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิตได้ดีขึ้น เพิ่มกำลังการผลิต และทำให้การผลิตมีความน่าเชื่อถือสูง  ทำให้ปัจจุบันหลายๆบริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสายงานการผลิตไปที่ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ( Automation System ) โดยใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation Machine) ในการผลิตขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเตรียม RawMaterial จนถึงขั้นตอนการจัดส่ง ( Logistic )

 

ระบบอัตโนมัติคือระบบหรือกลไกใด ๆ ที่สามารถเริ่มต้นได้เอง โดยการรันโปรแกรมที่วางไว้ เช่นระบบรดน้ำอัตโนมัติระบบตอบรับอัตโนมัติ Automation สามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้อย่างถูกต้องเมื่อวางแผนหรือตั้งโปรแกรมโดยมนุษย์

ประเภทของเครื่องจักรอัตโนมัติมีสองประเภท
1. เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติคือเครื่องที่นำคอมพิวเตอร์มาควบคุมหรือทำงานในบางขั้นตอนเพื่อให้เราสามารถควบคุมงานบางประเภทได้เช่นงานที่มีความเสี่ยงสูง งานที่ต้องใช้ความแม่นยำ ฯลฯ ขั้นตอนที่เหลือจะยังคงเป็นผลงานของคน


2. เครื่องจักรอัตโนมัติ คือ เครื่องจักรที่นำคอมพิวเตอร์มาควบคุมหรือทำงานในทุกขั้นตอน คนงานมีความรับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องเท่านั้น เครื่องจักรอัตโนมัติ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการควบคุมเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพหรือความสะอาด นอกจากนี้ยังใช้ในงานที่คนงานไม่สามารถทำงานได้ เช่น งานที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิสูง

 


การออกแบบและสร้างระบบสายพานลำเลียง

(กรณีศึกษา : บริษัท ซีพีเอฟ เทรดดิ้ง จำกัด สาขาลำปาง)

ปฐมพงศ์ พรมมาบุญ 1* เอกรัฐ อินต๊ะวงศา2 ปัญญา พลรักษ์3

ประสงค์ หน่อแก้ว4 นิวัติ กิจไพศาลสกุล5 และสมพร ติ๊บขัด6

1*,2,3,4,5,6คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏล าปาง 119 ม.9 ต าบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100

โทร 054-237399 ต่อ 1333 โทรสาร 054-241079 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง การออกแบบและสร้างระบบสายพานลำเลียง (กรณีศึกษา : บริษัท ซีพีเอฟ เทรดดิ ง จ ากัด สาขาล าปาง) มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและสร้างระบบสายพานลำเลียง และทดสอบหาประสิทธิภาพในการขนถ่ายกล่องสินค้า ซึ่งทางผู้วิจัยได้ออกแบบระบบสายพานลำเลียง ให้มีความยาว 6 เมตร ความกว้าง 70 เซนติเมตร ควบคุมความเร็วและปรับทิศทางการเคลื่อนที่ด้วย Inverter 1 เฟส 220 โวลต์ขับมอเตอร์ 3 เฟส 2 แรงม้า และมีระบบการนับจำนวนกล่องสินค้า ที่มีความแม่นยำเพื่อแก้ปัญหาความเสียหายของกล่องและการนับจำนวนสินค้าที่ผิดพลาด โดยพนักงาน จากการทดสอบการทำงานพบว่า ระบบการนับสินค้าของชุดสายพานลำเลียงมีความ แม่นยำร้อยละ100 มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าร้อยละ180 เมื่อเทียบกับการขนถ่ายโดยใช้พนักงาน หรือลดระยะเวลาลง 34.6 วินาที สามารถนำไปใช้งานขนถ่ายสินค้าของผู้ประกอบการโลจิสติกได้จริง

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC)

         เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งาน ตัวตรวจวัดหรือสวิทตช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อ PLC หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งาน PLC มีความยืดหยุ่นมากดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ PLC มากขึ้น

 

Selective Rack

ชั้นวางสินค้าแบบเลือกหยิบสินค้าได้รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Selective Racking หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า Pallet Racking เป็นชั้นวางสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าบนพาเลท ซึ่งทําให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกหยิบสินค้าที่ต้องการได้ทันที ง่ายในการจัดเก็บและสามารถควบคุมสต๊อกสินค้าได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังช่วยจัดการ  พื้นที่ใช้สอยให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างสูงสุด เพราะชั้นวางสินค้าประเภทนี้สามารถออกแบบโครงสร้าง ตามพื้นที่ใช้สอยได้ตามความต้องการและสามารถออกแบบโครงสร้างตามประเภทของการจัดเก็บสินค้าได้อีก  ทั้งสามารถรับนํ้าหนักของสินค้าที่มีนํ้าหนักมากได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุผลที่ทําให้ชั้นวางสินค้าประเภท Selective Racking   นี้ได้รับความนิยมสูงสุดในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน

ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบชั้นวางสินค้า (Racking System)
          สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการจัดเก็บในคลังสินค้าที่สำคัญที่สุดก็คือ ชั้นวางสินค้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชั้นวางสินค้าแบบซีเร็คทีฟ โมบายแร็ค ไดร์ฟอินแร็ค ดับเบิ้ลดีฟแร็ค Rack ซึ่งเป็นชั้นวางขนาดใหญ่ที่ไม่ปูพื้นในแต่ละชั้น จะมีเพียงคานหน้าหลังไว้สำหรับรับน้ำหนักของพาเลทและสินค้า

SORTING SYSTEMS

 

ระบบคัดแยกสินค้าอัติโนมัติ (Sorter System) หรือ ระบบคัดแยกชิ้นงาน/พัสดุ

Cross Belt Sorter เป็นระบบคัดแยกแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว ใช้พลังงานต่ำ เสียงรบกวนน้อย

อ่านเพิ่มเติม...

CONVEYOR SYSTEMS

ระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor)

ระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor) 

เป็นการลำเลียงที่ใช้ลูกกลิ้งในการทำงานเป็นหลัก มีวัสดุของลูกกลิ้งให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น

อ่านเพิ่มเติม...

RACKING SYSTEMS

ชั้นวางสินค้า แบบซีเร็คทีฟ

เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีอุปกรณ์และต้นทุนต่ำสุดช่วยให้สามารถเข้าถึงพาเลททั้งหมดได้โดยตรงเพื่อการเข้าถึงได้ 100% และหมุนเวียนหุ้นได้ดี สามารถจัดวางพาเลทเข้าถึงและเคลื่อนย้ายได้เองเพื่อให้สามารถจัดการสินค้า palletised ได้อย่างรวดเร็ว มีการปรับคานรับน้ำหนักได้ง่ายและรองรับความสูงของพาเลทแบบต่างๆ พาเลทระดับล่างสามารถวางอยู่บน

อ่านเพิ่มเติม...

Site Link